ขั้นตอนในการทำฟางหมัก
ฟางข้าวเป็นผลพลอยได้ทางการเกษตรที่นิยมนำมาเป็นอาหารในการเลี้ยงโค, กระบือ เนื่องจากหาง่าย ราคาถูก และสามาระเก็บไว้ใช้ได้นาน ฟางข้าวมีเยื่อใยสูงเหมาะกับสัตว์เขี้ยวเอื้อง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ มีโปรตีนเพียงแค่ 1-2 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ ดังนั้นเราจึงนำมาแปรรูปให้มีโภชนาการที่สูงขึ้น ในที่นี้ Dairyfeed จะมาพูดถึงเรื่องของการทำฟางหมัก ขั้นตอนการทำมีดังต่อไปนี้ครับ.....
การทำฟางหมักนั้นจะหมักในหลุมโดยขุดหลุมให้กว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร ความลึกขนาดอิฐบล๊อค 2 ก้อน ปรับพื้นให้เรียบแล้วราดปูนที่พื้นและรอบข้างหลุมทั้ง 4 ด้าน หลุมขนาดนี้จะหมักฟางได้ 500-1,000 กิโลกรัม
หรือเกษตรกรอาจจะได้ให้วิธีหมักฟางบนพื้นราบโดยใช้พลาสติคใสชนิดบางหนา 0.04 มิลลิเมตร รองที่พื้นก่อน และในระหว่างการหมักฟางให้คลุมด้วยพลาสติกหรือผ้าร่ม เพื่อป้องกันก๊าซ แอมโนเนียระเหยหนีออกจากกองฟางหมัก
วัตถุดิบ และวัสดุ ได้แก่
- ฟางข้าว 100 กิโลกรัม (ประมาณ 30 มัด)
- 100 กิโลกรัม (5ปิ๊บ)
- ปุ๋ยยูเรีย 6 กิโลกรัม (ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0)
- น้ำเปล่า
- แผ่นพลาสติก หนา 0.04 มม. 6 x 8 ม.
- ปี๊บ (20 ลิตร)
- ยางรถยนต์ 1-2 เส้น
ซึ่งการทำฟางหมัก มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. นำพลาสติกใสชนิดบางปูบนพื้นซีเมนต์หรือปูบนพื้นดิน กะให้มีความกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร โดยให้ริมผ้าซ้อนเหลื่อมกันจนเต็มพื้นที่
2. นำฟาง 100 กิโลกรัม ไปแผ่บนพลาสติกใส เกลี่ยฟางให้กระจายหนาสม่ำ เสมอ แล้วเหยียบฟางให้แน่น
3. รดฟางด้วยนํ้าเปล่า 3 ปี๊บ (60 ลิตร) โดยใช้บัวรดนํ้ารด และขณะที่รดนํ้าให้เหยียบฟางให้แน่นไปด้วย
4. ชั่งปุ๋ยยูเรยี สูตร 46-0-0 จำนวน 6 กิโลกรัม เอาปุ๋ยยูเรียไปละลายกับน้ำเปล่า 2 ปิ๊บ (40 ลิตร) ใช้มือคนให้ปุ๋ยยูเรียละลายนํ้าจนหมด แล้วจึงเทใส่บัวรดนํ้า นำไปรดบนกองฟางและขณะรดนั้นให้เหยียบฟางให้แน่น ๆ ด้วย
5. ยกผ้าพลาสติกรอบ ๆ กองฟางขึ้น แล้วหาท่อนไม้ไม้ไผ่สอดไว้ข้างล่างผ้าพลาสติก หรือจะเอามัดฟางสองเข้าข้างใต้ ทำ เป็นคันเพื่อกันนํ้าไม่ให้ไหลออกจากกองฟาง
6. ใช้พลาสติกใสชนิดบางปิดทับข้างบน อย่างให้มีรูรั่ว หรือจะใช้เต็นท์คลุมกองฟางให้มิดชิดเพื่อป้องกันก๊าซแอมโมเนียระเหยหนีออกจากกองฟาง
7. ใช้ยางรถยนต์หรือของหนักทับข้างบน เป็นการป้องกันลมพัด
8. หมักไว้ 21 วัน จึงนำมาให้สัตว์กินได้
หากต้องการหมักฟางเป็นจำนวนมากให้ปฏิบัติดังนี้คือ หลังจากที่ปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตั้งแต่ข้อ1 ถึงข้อ 4 ใหม่ จนกระทั่งฟางหมดแล้วจึงทำ ข้อ 5 ถึงข้อ 8 เป็นขั้นตอนสุดท้าย.
***ข้อควรระวังในการทำฟางหมัก
1. ระมัดระวังการใช้ยูเรียโดยชั่งให้ตรงตามที่กำหนด
2. ต้องละลายยูเรียให้หมด อย่าให้เหลือเป็นก้อนที่ก้นภาชนะ
3. อย่าให้มีรอยรั่วที่พลาสติคใสหรือผ้าเต้นท์ที่คลุมกองฟางเพราะจะทำให้ได้ฟางหมักที่ได้มีคุณภาพตํ่า
4. อย่าให้กองฟางถูกแสงแดด ถ้าเป็นไปได้ควรทำ ฟางหมักในพื้นที่ที่มีหลังคา
5. หลังจากหมักฟางครบ 21 วันแล้ว ให้ปิดกองฟางที่ปลายด้านใดด้านหนึ่งออกเพียงด้านเดียวแล้วตักไปให้สัตว์กิน หลังจากนั้นให้ปิดกองฟางไว้ตามเดิม
6. ก่อนจะนำฟางไปให้สัตว์กิน ควรผึ่งฟางหมักในที่ร่มสักพัก เพื่อปล่อยให้ก๊าซแอมโมเนียระเหยหนี้ไปจนหมดก่อนแล้วจึงนำไปให้สัตว์กิน
7. หากต้องการเพิ่มความน่ากิน และเพิ่มพลังงานในฟางหมัก ก่อนนำไปให้สัตว์กินให้ใช้กากนํ้าตาลละลายกับนํ้าอัตราส่วนกากนํ้าตาล : นํ้าเป็น 1 : 2 แล้วรดด้วยบัวรดนํ้า (ใช้กากนํ้าตาลได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของนํ้าหนักฟางหมัก)
8. หากต้องการเพิ่มความน่ากิน และลดความเฝื่อนที่เกิดจากยูเรีย หลังจากหมักฟางครบ 21 วันแล้วให้เติมเกลือ 0.5% ของนํ้าหนักฟางหมัก ละลายกับนํ้ารดที่ฟางหมักแล้วนำไปให้สัตว์กิน
9. ในการเลี้ยงโคด้วยฟางหมักเพียงอย่างเดียวนั้น ต้องหาแร่ธาตุเตรียมไว้ให้โคสามารถกินได้ตลอดเวลา
10. หากต้องการเพิ่มคุณภาพฟางหมัก ให้เติมกำมะถันผงอัตราส่วนไนโตรเจน : กำมะถันิ15 :1
1. ระมัดระวังการใช้ยูเรียโดยชั่งให้ตรงตามที่กำหนด
2. ต้องละลายยูเรียให้หมด อย่าให้เหลือเป็นก้อนที่ก้นภาชนะ
3. อย่าให้มีรอยรั่วที่พลาสติคใสหรือผ้าเต้นท์ที่คลุมกองฟางเพราะจะทำให้ได้ฟางหมักที่ได้มีคุณภาพตํ่า
4. อย่าให้กองฟางถูกแสงแดด ถ้าเป็นไปได้ควรทำ ฟางหมักในพื้นที่ที่มีหลังคา
5. หลังจากหมักฟางครบ 21 วันแล้ว ให้ปิดกองฟางที่ปลายด้านใดด้านหนึ่งออกเพียงด้านเดียวแล้วตักไปให้สัตว์กิน หลังจากนั้นให้ปิดกองฟางไว้ตามเดิม
6. ก่อนจะนำฟางไปให้สัตว์กิน ควรผึ่งฟางหมักในที่ร่มสักพัก เพื่อปล่อยให้ก๊าซแอมโมเนียระเหยหนี้ไปจนหมดก่อนแล้วจึงนำไปให้สัตว์กิน
7. หากต้องการเพิ่มความน่ากิน และเพิ่มพลังงานในฟางหมัก ก่อนนำไปให้สัตว์กินให้ใช้กากนํ้าตาลละลายกับนํ้าอัตราส่วนกากนํ้าตาล : นํ้าเป็น 1 : 2 แล้วรดด้วยบัวรดนํ้า (ใช้กากนํ้าตาลได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของนํ้าหนักฟางหมัก)
8. หากต้องการเพิ่มความน่ากิน และลดความเฝื่อนที่เกิดจากยูเรีย หลังจากหมักฟางครบ 21 วันแล้วให้เติมเกลือ 0.5% ของนํ้าหนักฟางหมัก ละลายกับนํ้ารดที่ฟางหมักแล้วนำไปให้สัตว์กิน
9. ในการเลี้ยงโคด้วยฟางหมักเพียงอย่างเดียวนั้น ต้องหาแร่ธาตุเตรียมไว้ให้โคสามารถกินได้ตลอดเวลา
10. หากต้องการเพิ่มคุณภาพฟางหมัก ให้เติมกำมะถันผงอัตราส่วนไนโตรเจน : กำมะถันิ15 :1
-/-/-/-/-/-
ผู้สนับสนุน
เนื้อหาโดย : อัมพร นันทธีโร, ประสงค์ ไคลมี
ภาพ : msue.anr.msu.edu
เรียบเรียงโดย : DairyFeed
เรียบเรียงโดย : DairyFeed