อาหารหยาบ
อาหารหยาบ หมายถึง อาหารที่มีเยื่อใยสูง เช่น หญ้าสด หญ้าหมัก หญ้าแห้ง ฟาง ฟางปรุงแต่ง พืชถั่วอาหารสัตว์ และเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเช่น ยอดอ้อย ต้นกล้วย ใบมันสำปะหลังตากแห้ง หรือแม้แต่วัชพืช เช่น ผักตบชวา ก็จัดเป็นอาหารหยาบสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่นกันโดยปกติโคสามารถสร้างนํ้านมโดยกินอาหารหยาบแต่เพียงอย่างเดียวก็พอเพียงแล้ว แต่นํ้านมที่ให้นั้นจะมีจำ นวนน้อย จึงมีหลักว่า ถ้าโคตัวใดให้นํ้านมน้อยกว่าวันละ 5 ลิตร ควรให้โคตัวนั้นกินแต่อาหารหยาบที่มีคุณภาพดีเท่านั้นก็พอเพียงไม่จำ เป็นต้องเพิ่มอาหารข้นให้กิน แต่เกณฑ์นี้ไม่ใช่มาตรฐานเกษตรกรบางรายอาจจะไม่เพิ่มอาหารข้นให้แก่โคเลยถึงแม้โคตัวนั้นจะให้นมถึงวันละ 7-8 ลิตรทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของโค ละการตัดสินใจของผู้เลี้ยง โดยยึดหลักว่าหากได้เพิ่มอาหารข้นให้แก่นมลดลงแสดงว่าปริมาณอาหารข้นจำ นวนสุดท้ายนี้เหมาะสมกับความสามารถของโคให้นมตัวนั้น
อาหารหยาบที่มีคุณภาพดี ควรจะเป็นอาหารหยาบที่ได้จากหญ้า และถั่วอาหารสัตว์ผสมกันในอัตราส่วนอย่างละครึ่ง ถ้าอาหารหยาบประกอบด้วยถั่วอาหารสัตว์เกิดกว่าครึ่ง โคอาจจะเกิดอาการท้องอืดได้
โคสามารถแทะเล็มหญ้าและพืชถั่วอาหารสัตว์ที่มีความสูงระดับ 6-8 นิ้ว แต่เกษตรกรบางรายไม่นิยมปล่อยให้โคลงแทะเล็ม มักจะใช้วิธีตัดสดแล้วนำ มาให้กินที่คอก ดังนั้นจึงควรปลูกพืชอาหารสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีการดูแลจัดการที่ดี
เกษตรกรไทยไม่นิยมทำ อาหารหยาบให้อยู่ในรูปแห้ง เนื่องจากมีฟางอยู่เป็นจำ นวนมากพอเพียงให้โคกินในหน้าแล้ง ทั้งยังไม่นิยมตัดสดแล้วนำ มาหมักเก็บไว้ให้โคกินในยามขาดแคลน เนื่องจากขบวนการมักมีวิธีการที่ยุ่งยากและต้องใช้เงินลงทุนมาก
สำหรับวิธีการทำ ทุ่งหญ้าอาหารสัตว์ และวิธีการปลูกพืชถั่วอาหารสัตว์นั้น สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ได้ผลิตเอกสารเผยแพร่แจกฟรีให้แก่ผู้สนใจแล้ว โปรดขอรายละเอียดได้ที่ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน รหัสไปรษณีย์ 10903
ในจำนวนอาหารหยาบที่เมืองไทยมีมากที่สุด หาได้ง่ายและราคาถูกที่สุดคือ หญ้าสด นอกจากนี้แล้วเมืองไทยยังมีอาหารหยาบสำรอง ซึ่งมีราคาถูกคือฟางข้าว แต่ฟางข้าวมีคุณภาพตํ่า และมีปริมาณโปรตีนเพียงแค่ประมาณ 1.2% เท่านั้น นอกจากนี้ฟางข้าวยังมีลักษณะโปร่ง และไม่ค่อยน่ากินทั้งเส้นใยฟางยังหยาบ จึงย่อยยาก ดังนั้นเกษตรกรจึงควรทำ ฟางปรุงแต่งเพื่อ แก้ไขข้อเสียของฟางข้าว
ฟางปรุงแต่ง ที่นิยมทำ คือ
1. ฟางหมัก
2. ฟางราดด้วยยูเรียและกากนํ้าตาล
ข้อดีของฟางปรุงแต่ง
1. มีคุณภาพดีกว่าฟางธรรมดา (ฟางหมักจะมีโปรตีนสูงขึ้น)
2. มีความน่ากิน เส้นใยฟางนุ่มขึ้น ทำ ให้ย่อยได้ง่ายขึ้น
3. ต้นทุนการทำ ฟางปรุงแต่งถูกกว่าการเตรียมอาหารหยาบชนิดอื่นๆ
4. เป็นการให้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรให้เกิดประโยชน์
ส่วนขั้นตอนการทำฟางปรุงแต่งต่าง ๆ จะมาบอกวิธีการทำในบทความต่อ ๆ ไป
- การทำฟางหมัก
- การทำฟางราดยูเรีย และกากน้ำตาล
-/-/-/-/-/-
ผู้สนับสนุน
ขอบคุณเนื่อหาโดย : อัมพร นันทธีโร, ประสงค์ ไคลมี
เรียบเรียงโดย : DairyFeed